Last updated: 26 ธ.ค. 2562 | 1122 จำนวนผู้เข้าชม |
Warrix WA-1567 สีดำ ทีมราชนาวี 40 ขสทร. กรมการขนส่งทหารเรือ
เสื้อ Warrix รุ่น WA-1567 สีดำเป็นเนื้อผ้าไมโครเรียบ พิมพ์ลายเป็นลักษณะเหมือนทาสีที่ตัวเป็นริ้วสวยงาม งานตัดเยํบยอดเยี่ยมคุณภาพ Warrix - โลโกออกแบบใหม่ จากของเดิม เน้นไปที่ พังงาเรือ กับสมอไขว้ ชื่อทีม TRANSPORTATION เน้นใช้สีพื้นเป็น สี ม่วงส้ม ตามสีของหน่วยงานย่อย ส่วนกลางอกนั้น จะขาดไม่ได้ เฟล็กพิมพ์ชิ้นใหญ่เด่นๆด้วยตัวอีกษณ NAVY 40 FOOTBALL CLUB ด้านหลัง เสริมหล่อด้วยชื่อทีม Transportation และเบอร์ เป็นอันจบพิธี
***สนใจติดต่อ เจน 089-769-4585***
หรือ @line @jensport สามารถระบุจำนวนและ size มาได้เลย
//เพิ่มเติมเกล็ดความรู้เกี่ยวกับ ขสทร.//
กรมการขนส่งทหารเรือ "เป็นหน่วยราชการที่นับได้ว่าเก่าแก่ และมีประวัติอันยาวนานหน่วยหนึ่งของกองทัพเรือ ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ภายใต้ชื่อว่า กองพาหนะ อันเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมบัญชาการทหารขึ้นบกในกรุงเทพ ฯ ในสมัยที่กองทัพเรือยังใช้ชื่อว่า "กรมทหารเรือ" และมี พลเรือตรี สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุขพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ผู้ที่ได้จารึกชื่อเป็นผู้บังคับการกองพาหนะ เป็นคนแรก ในประวัติศาสตร์ก็คือ หลวงพลพิฆาฎ (แว ไวณุนาวิน) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นนายเรือโท ผู้ช่วยหลวงอาษาศัลการ เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพการจัดส่วนราชการกองทัพเรือในสมัยนั้น กองพาหนะในสมัยนั้นแบ่งส่วนราชการ ออกเป็นกองรักษาเรือและกองทหาร สันนิษฐานว่ากองพาหนะ นอกจากจะมีหน้าที่ในการรักษาเรือ ลงประจำเรือต่าง ๆ และเป็นฝีพายแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ รักษาการณ์ทำหน้าที่เป็นทหารบริการ (ทหารรับใช้) ทหารลูกมือและดูแลทั่วไปในบริเวณกรมทหารเรืออีกด้วย ทั้งนี้ เพราะกองพาหนะเป็นหน่วยบกหน่วยเดียว ในกรุงเทพ ฯ ที่มีทหารลูกแถวอยู่เป็นจำนวนมาก หน้าที่ดังกล่าวนี้ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากการที่ ขส.ทร. เป็นหน่วยในสายยุทธบริการ หน่วยเดียวที่จัดยามรักษาการณ์ด้วยกำลังพลของตนเองทั้งหมด นอกจากนั้น ทหารบริการตามหน่วยต่าง ๆ ในเขตพระราชวังเดิมก็ได้กำหนดอัตราไว้ว่าจัดจาก ขส.ทร.ทั้งสิ้น ทหารบริการนี้ต่อไปจะโอนไปขึ้นกับ พธ.ทร. ส่วนทหารลูกมือที่เกี่ยวกับการขนส่งจะคงมีอยู่ใน ขส.ทร. และหน่วยที่มีอัตราหมุนเวียนของ ขส.ทร. ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงตามหน้าที่และสายงานของหน่วย
กองพาหนะเมื่อเริ่มตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๖ นั้น มีที่ตั้งรวมอยู่ในบริเวณกรมทหารเรือ ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชนิเวศน์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองเรือลำน้ำ) ทั้งนี้ เพราะกรมทหารเรือในขณะนั้น ยังมีพื้นที่จำกัดอยู่ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาแถบตำบลบ้าขมิ้นและใกล้เคียงเท่านั้น ยังมิได้ขยายออกไปถึงสวนอนันต์ (พระราชวังนันทอุทยาน) เหมือนเดี๋ยวนี้ หน่วยต่าง ๆ จึงมีที่ตั้งรวมกันอยู่ที่บริเวณตำบลบ้านขมิ้นเป็นส่วนใหญ่ เข้าใจว่ากองพาหนะคงจะมีที่ตั้งอยู่ ณ ที่นี้เป็นเวลานานทีเดียว หากดูแผนที่บริเวณที่ตั้งกรมทหารเรือพระราชวังนิเวศน์ ซึ่งจัดทำโดยกรมอุทกศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ปรากฏว่ากองพาหนะยังอยู่ที่นี่ แต่ใช้ชื่อว่ากองพันพาหนะซึ่งมีอาคารขนาดใหญ่ของกองพันอยู่ถึง ๘ หลัง ในจำนวนนี้มีที่พักทหารกองพันพาหนะและโรงเลี้ยง ๓ หลัง ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เป็นอู่หมายเลข ๒ ของกรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน อู่ดังกล่าวนี้พึ่งจะสร้างเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ เพื่อให้เพียงพอกับเรือที่กองทัพเรือสั่งต่อใหม่จากประเทศอิตาลี
ที่ตั้งหน่วยได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ แต่ก็ยังคงอยู่ที่บริเวณพระราชนิเวศน์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ได้ย้ายที่ตั้งกองบังคับการมาอยู่ที่ริมคลองมอญบริเวณสะพานชิโนรสโดยใช้อาคารไม้ที่มีชื่อว่า เรือนระพีพัฒน์ และเรือวัฒนาเป็นที่ตั้งกองบังคับการ เรือนดังกล่าวนี้รื้อไปนานแล้ว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองดุริยางค์ทหารเรือ ส่วนกองบังคับการกรมการขนส่งทหารเรือได้รับการสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น อยู่ถัดกองดุริยางค์ ข้ามคลองไปทางด้านตะวันออก โดยมีหน่วยในบังคับบัญชาที่ตั้งแยกไปดังนี้ กองรถยนต์, กองช่าง และสถานีบริการน้ำมัน กองพลาธิการ ขส.ทร. ตั้งอยู่ข้างโรงเรียนชิโนรส ริมถนนอิสรภาพฝั่งตะวันตก แผนกเรือลำเลียงและแจวพาย กองเรือเล็ก ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยบริเวณเชิงสะพานอรุณอัมรินทร์
ก่อนที่จะมาเป็นกรมการขนส่งทหารเรือ อันเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือในปัจจุบัน หน่วยนี้ได้มีชื่อและหน่วยเหนือเปลี่ยนแปลงไปหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะชื่อของหน่วย ปรากฏว่าเปลี่ยนกลับไปกลับมาหลายครั้ง บางครั้งก็เปลี่ยนย้อนกลับไปใช้ชื่อเดิมก็มี นับได้ว่าเป็นหน่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยมากที่สุดในกองทัพเรือก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยดังต่อไปนี้
พ.ศ.๒๔๔๖ กองพาหนะ กรมบัญชาการทหารขึ้นบกในกรุงเทพ ฯ
พ.ศ.๒๔๔๘ กองพันพาหนะ กรมทหารเรือฝ่ายบก
พ.ศ.๒๔๕๓ กองพันพาหนะ กรมบัญชาการทหารเรือฝ่ายบก
พ.ศ.๒๔๕๖ กองพันพาหนะ กรมชุมพลทหารเรือ
พ.ศ.๒๔๗๕ กองยานพาหนะทหารเรือ กองชุมพลทหารเรือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ ฯ
พ.ศ.๒๔๘๖ กองพาหนะ มณฑลทหารเรือที่ ๑
พ.ศ.๒๔๘๘ กองพันพาหนะ มณฑลทหารเรือที่ ๑
พ.ศ.๒๔๙๐ กองพาหนะ มณฑลทหารเรือที่ ๑
พ.ศ.๒๔๙๔ กองพาหนะ กรมพลาธิการทหารเรือ (หลังจากกบฏแมนแฮตตัน พ.ศ.๒๔๙๔)
พ.ศ.๒๔๙๖ กองพาหนะทหารเรือ กรมยุทธบริการทหารเรือ
พ.ศ.๒๕๐๑ กรมการขนส่งทหารเรือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ ฯ
พ.ศ.๒๕๒๘ กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ (เป็นหน่วยขึ้นตรง ทร.)
กาลเวลาได้ผ่านไปตามลำดับ กองพาหนะได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนในที่สุดได้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยเป็น "กรมการขนส่งทหารเรือ" ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๙ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธบริการทหารเรือ และต่อมา พ.ศ.๒๕๐๑ ได้มีการจัดตั้งสถานีทหารเรือกรุงเทพ ฯ ขึ้น กรมการขนส่งทหารเรือจึงถูกย้ายมาขึ้นตรงต่อสถานีทหารเรือกรุงเทพ ฯ จนมาถึง ปี พ.ศ.๒๕๒๘ มีพระราชกฤษฏีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ส่วนราชการกองทัพเรือ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๒๘ ลง ๓ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๘ (ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๕ - ๑๔ เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๙๖ ฉบับพิเศษ ๒๖ ก.ค.๒๕๒๘) ให้ กรมการขนส่งทหารเรือ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1 มี.ค. 2566